ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์ การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้ ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้ นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น คนฟังยิ่งมากยิ่งดี ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้ ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ นี่เอง การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่ หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน เช่นคุณทำก่อน เธอทำก่อน แล้วผมค่อยทำ แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่ ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์ แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย
การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้ แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์ รู้จักทำหน้าที่ ฯลฯ นั่นเอง
วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น
ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตร
มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด
คือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตาม
ที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
"อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี"
เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น
ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตร
มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด
คือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตาม
ที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
"อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี"
เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)